พ.ศ.2492 |
28 เมษายน |
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปิด“โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร” ขึ้น ณ ถนนสุขุมวิท 23 ในเนื้อที่ 93 ไร่ 1 งาน 1.8 ตารางวา โดยเป็นโรงเรียนในสังกัดกรมวิสามัญศึกษา และแต่งตั้งหลวงสวัสดิสารศาสตร์พุทธิ เป็นผู้อำนวยการคนแรก |
พ.ศ.2496 |
18 พฤษภาคม |
กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงและยกวิทยฐานะโรงเรียน “ฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร” ถึงขั้นปริญญาในวิชาการศึกษา จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” มี ดร.สาโรช บัวศรี เป็นผู้อำนวยการ |
พ.ศ.2497 |
16 กันยายน |
พระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 ประกาศใช้วิทยาลัย วิชาการศึกษาจึงมีโอกาสให้อนุปริญญา (อ.กศ.) ปริญญาตรี( กศ.บ.) ปริญญาโท (กศ.ม.) และปริญญาเอก (กศ.ด.) ในวิชาการศึกษา และวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย |
พ.ศ.2498 |
11 มิถุนายน |
โอนแผนกฝึกหัดครูมัธยมพญาไท ปทุมวัน มาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา ปทุมวัน |
|
8 กรกฎาคม |
จัดตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน” ขึ้นที่ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษา ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกในประเทศที่ทำการสอนถึงระดับปริญญา(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยบูรพา) |
|
25 สิงหาคม |
กระทรวงศึกษาธิการ และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ร่วมมือกันจัดตั้ง “สถาบันระหว่างชาติสำหรับค้นคว้าเรื่องเด็ก” นับเป็นสถาบันวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแห่งแรกของภาคพื้นเอเชียและของประเทศไทย |
|
|
จัดตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน” ณ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
พ.ศ.2510 |
25 มกราคม |
จัดตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก” ขึ้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก |
พ.ศ.2511 |
27 มีนาคม |
จัดตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม” ขึ้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม |
|
1 ตุลาคม |
จัดตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา” ขึ้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา |
พ.ศ.2512 |
27 มีนาคม |
จัดตั้ง “วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางเขน” อยู่ในบริเวณเดียวกับวิทยาลัยครู พระนคร ถนนแจ้งวัฒนะ บางเขน กรุงเทพฯ |
พ.ศ.2513 |
1 เมษายน |
วิทยาลัยพลศึกษาได้เข้ามาสมทบเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการการศึกษาเรียกชื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษา พลศึกษา” |
พ.ศ.2515 |
|
วิทยาลัยวิชาการศึกษาแยกจากกรมการฝึกหัดครู มีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการ |
พ.ศ.2517 |
29 มิถุนายน |
วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” |
|
|
สถาบันระหว่างชาติสำหรับค้นคว้าเรื่องเด็กได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์” (Behavioral Science Research Institute) |
|
|
จัดตั้ง “สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา” และเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ 29 มิถุนายน 2517 สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยาจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒว่า “สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา” (Educational and Psychological Test Bureau) มีหน้าที่สร้างและพัฒนาแบบทดสอบและเครื่องมือวัดที่เป็นมาตรฐาน เพื่อสนองความต้องการของสังคม |
พ.ศ.2523 |
8 พฤษภาคม |
จัดตั้ง “สถาบันทักษิณคดีศึกษา” ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา |
พ.ศ. 2528 |
|
จัดตั้ง “คณะแพทยศาสตร์” ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับกรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล |
พ.ศ. 2529 |
|
จัดตั้ง “สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน” “สำนักวิทยบริการ” และ “คณะเทคโนโลยี” ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม |
พ.ศ. 2532 |
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา ได้รวมกับคณะพลศึกษา |
พ.ศ. 2533 |
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้แยกตัวและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา |
|
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ได้แยกตัวและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร |
พ.ศ. 2535 |
|
จัดตั้ง “คณะวิศวกรรมศาสตร์” ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร |
พ.ศ. 2536 |
|
จัดตั้ง “คณะศิลปกรรมศาสตร์” |
|
|
จัดตั้ง “สำนักคอมพิวเตอร์” |
|
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตปทุมวัน และวิทยาเขตบางเขน ได้รวมกับวิทยาเขตประสานมิตร เป็นวิทยาเขตกลาง |
พ.ศ. 2537 |
|
จัดตั้ง “คณะทันตแพทย์” |
พ.ศ. 2538 |
|
จัดตั้ง “คณะเภสัชศาสตร์” |
พ.ศ. 2539 |
|
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ได้แยกตัวและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ |